วันอาทิตย์ที่ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2553

กิจกรรมที่ 6

ให้นักศึกษาอ่านบทความนี้  สรุปและแสดงความคิดเห็น มาตรฐานวิชาชีพ และนำไปใช้ในการประกอบวิชาชีพครูได้อย่างไร
รองศาสตราจารย์ ดร.เมธี ปิลันธนานนท์*  สารานุกรมวิชาชีพครู  เฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสฉลองสิริราชสมบัติครบ ๖0 พรรษา หน้า ๓๑๑๓๑๗

                สำหรับวิชาชีพทางการศึกษานั้น คำว่า มาตรฐานวิชาชีพทางการศึกษามีความสำคัญอย่างยิ่ง เพราะการศึกษาเป็นทั้งการสร้าง การพัฒนา รวมทั้งการเสริมให้บุคคลมีคุณภาพ มีศักยภาพ ที่จะเป็นพลเมืองที่มีคุณค่าของชุมชน สังคม และประเทศ
มาตรฐานวิชาชีพ หมายถึง จุดมุ่งหมายหลักทีจะสร้างแนวทางปฏิบัติ รวมทั้งส่งเสริมให้มีการปฏิบัติตามมาตรฐานวิชาชีพและจรรยาบรรณของวิชาชีพ เพื่อให้เกิดความมั่นใจมนวิชาชีพของผู้ปฏิบัติ เพื่อให้การปฏิบัติงานอาชีพมีคุณภาพสูงสุด วิชาชีพใดๆ ย่อมให้บริการแก่สาธารณชน หรือองค์กรต่างๆ โดยต้องอาศัยความรู้ ความชำนาญเฉพาะ โดยมีมาตรฐานในการประกอบอาชีพที่ผู้ประกอบวิชาชีพจะต้องได้รับการฝึกอบรมทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติอย่างเพียงพอก่อนที่จะประกอบอาชีพ
วิชาชีพที่มีมาตรฐาน จึงได้รับการยกย่องให้เป็นวิชาชีพชั้นสูงเพราะผู้ประกอบวิชาชีพ นอกจากต้องมีความรู้และทักษะในวิชาชีพแล้วยังต้องมีความรับผิดชอบสูง เพราะเกี่ยวข้องกับผู้รับบริการและสาธารณชน จึงต้องมีการควบคุมการประกอบวิชาชีพเป็นพิเศษ เพื่อให้เกิดความมั่งใจต่อผู้รับบริการและสาธารณชน โดยผู้ประกอบวิชาชีพต้องประกอบวิชาชีพด้วยวิธีการแห่งปัญญา ได้รับการศึกษาอบรมมายาวนานเพียงพอ มีอิสระในการใช้ชีวิตตามมาตรฐานวิชาชีพ และมีจรรยาบรรณของวิชาชีพ รวมทั้งต้องมีสถาบันวิชาชีพหรือองค์กรวิชาชีพที่เป็นแหล่งกลางในการสร้างสรรค์และจรรโลงวิชาชีพด้วย
มาตรฐานวิชาชีพทางการศึกษาเป็นข้อกำหนดเกี่ยวกับคุณลักษณะและคุณภาพที่พึงประสงค์ ที่ผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษาต้องประพฤติปฏิบัติตาม เพื่อให้เกิดคุณภาพในการประกอบวิชาชีพ สามารถสร้างความเชื่อมั่นศรัทธาให้แก่ผู้รับบริการจากวิชาชีพได้ว่า เป็นบริการที่มีคุณภาพ และตอบสังคมได้ด้วยว่า การที่กฎหมายให้ความสำคัญกับวิชาชีพทางการศึกษา และกำหนดให้เป็นวิชาชีพควบคุมโดยต้องมีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพนั้น เนื่องจากเป็นวิชาชีพที่มีลักษณะเฉพาะ ต้องใช้ความรู้ ทักษะ และความเชี่ยวชาญในการประกอบวิชาชีพตามพระราชบัญญัติสภาครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. ๒๕๔๖ มาตรา ๔๙ ได้กำหนดมาตรฐานวิชาชีพทางการศึกษาไว้ ๓ ด้าน คือ (มาตรฐานวิชาชีพทางการศึกษา: สำนักงานเลขาธิการคุรุสภา ๒๕๔๘: ๔) เช่น
 ๑.มาตรฐานความรู้และประสบการณ์วิชาชีพครู มาตรฐานข้อนี้ ประกอบด้วย มาตรฐาน ๒ ส่วน ได้แก่
               มาตรฐานความรู้ หมายถึง ข้อกำหนดให้ผู้ประกอบวิชาชีพครู มีคุณวุฒิทางการศึกษาไม่ต่ำกว่าปริญญาตรีทางการศึกษา หรือเทียบเท่า หรือคุณวุฒิอื่นที่คุรุสภารับรอง
               มาตรฐานประสบการณ์วิชาชีพ ผู้ประกอบวิชาชีพครูจะต้องผ่านการฝึกทักษะและสมรรถนะของวิชาชีพครูในด้านการปฏิบัติการสอน รวมทั้งทักษะและสมรรถนะด้านการสอนสาขาวิชาเฉพาะในสถานศึกษาตามหลักสูตรปริญญาทางการศึกษาเป็นเวลาไม่น้อยกว่า ๑ ปี และผ่านเกณฑ์การประเมินปฏิบัติการสอนตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขที่คณะกรรมการคุรุสภากำหนด
๒. มาตรฐานการปฏิบัติงาน มีความหมายครอบคลุมมาตรฐานย่อยๆ ของการปฏิบัติงาน ๑๒ ประการด้วยกัน คือ
                - ปฏิบัติกิจกรรมทางวิชาการเกี่ยวกับการพัฒนาวิชาชีพครูอยู่เสมอ
                - ตัดสินใจปฏิบัติกิจกรรมต่างๆ โดยคำนึงถึงผลที่จะเกิดแก่ผู้เรียน
                - มุ่งมั่นพัฒนาผู้เรียนให้เต็มตามศักยภาพ
                - พัฒนาแผนการสอนให้สามารถปฏิบัติได้เกิดผลจริง
                - พัฒนาสื่อการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพอยู่เสมอ
                - จัดกิจกรรมการเรียนการสอนโดยเน้นผลถาวรที่เกิดแก่ผู้เรียน
                - รายงานผลกรพัฒนาคุณภาพของผู้เรียนได้อย่างมีระบบ
                - ปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดีกับผู้เรียน
                - ร่วมมือกับผู้อื่นในสถานศึกษาอย่างสร้างสรรค์
                - ร่วมมือกับผู้อื่นในชุมชนอย่างสร้างสรรค์
                - แสวงหาและใช้ข้อมูลข่าวสารในการพัฒนา
                - สร้างโอกาสให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ในทุกสถานการณ์

                ๓. มาตรฐานการปฏิบัติตน  หมายถึง ข้อกำหนดเกี่ยวกับความประพฤติของผู้ปฏิบัติวิชาชีพ จะต้อง  ประพฤติปฏิบัติตามจรรยาบรรณของมาตรฐานวิชาชีพครู ๕ ประการดังต่อไปนี้
                - จรรยาบรรณต่อตนเอง
                - จรรยาบรรณต่อวิชาชีพ
                - จรรยาบรรณต่อผู้รับบริการ
                - จรรยาบรรณต่อผู้ร่วมประกอบวิชาชีพ
                - จรรยาบรรณต่อสังคม

                พื้นฐานและแนวคิด
          โดยพื้นฐานและแนวความคิดความเชื่อของการมีมาตรฐานวิชาชีพ คือ
                - เป็นมาตรการของการให้ความสนับสนุนและช่วยเหลือผู้ประกอบวิชาชีพเพื่อสามารถพัฒนาผู้ประกอบวิชาชีพเป็นทั้งรายบุคคลและเป็นกลุ่มบุคคล
                - เป็นมาตรฐานที่ทำให้ผู้ประกอบวิชาชีพสามารถเลื่อนตำแหน่งวิชาชีพ เพิ่มคุณวุฒิ คุณภาพ คุณสมบัติ รวมทั้งทักษะและเจตคติในการประกอบวิชาชีพ
                - เป็นมาตรการที่จะเพิ่มมาตรฐานในระดับวิชาชีพที่ทำอยู่ในด้านความรู้ความเข้าใจ และสมรรถนะของบุคคลให้มีความเป็นมืออาชีพในวิชาชีพยิ่งขึ้น เป็นต้น
          มาตรฐานวิชาชีพทางการศึกษานั้น นอกจากเป็นมาตรฐานวิชาชีพที่ต้องประกอบวิชาชีพเพื่อบริการต่อสาธารณชนตามบริบทของวิชาชีพชั้นสูงทั่วไปแล้ว ยังต้องมีการปฏิบัติการวิชาชีพที่เกี่ยวกับบทบาทสำคัญต่อสังคมและความเจริญของประเทศที่สำคัญด้วยคือ (มาตรฐานวิชาชีพทางการศึกษา : สำนักงานเลขาธิการคุรุสภา ๒๕๔๘: ๑)
                - สร้างพลเมืองดีของประเทศ โยให้การศึกษาขึ้นพื้นฐานที่ประเทศต้องการ
                - พัฒนาทรัพยากรมนุษย์ เพื่อสนองต่อการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม
                - สืบทอดวัฒนธรรมและประเพณีอันดีงามขงอชาติ จากคนรุ่นหนึ่งไปยังคนอีกรุ่นหนึ่ง เพื่อรักษาความเป็นชาติไว้ให้มั่นคงและยาวนาน
สรุปมาตรฐานวิชาชีพครู
            แนวทางการดำเนินงานที่กล่าวมาแล้วโดยเฉพาะการควบคุมและรักษามาตรฐานการประกอบวิชาชีพเป็นเรื่องที่เพิ่มจะกำหนดให้มีการดำเนินงานครั้งแรกในวิชาชีพครูโดยกำหนดให้มีการกำหนมาตรฐานวิชาชีพออกและเพิกถอนใบอนุญาตประกอบวิชาชีพกำกับดูแลการปฏิบัติตามมาตรฐานและจรรยาบรรณของวิชาชีพ รวมทั้งการพัฒนาวิชาชีพ
                มาตรฐานวิชาชีพครูเป็นข้อกำหนดเกี่ยวกับคุณลักษณะและคุณภาพที่พึงประสงค์ที่ต้องการให้เกิดขึ้นในการประกอบวิชาชีพครูโดยผู้ประกอบวิชาชีพจะต้องนำมาตรฐานวิชาชีพเป็นหลักเกณฑ์ในประกอบวิชาชีพคุรุสภาซึ่งเป็นองค์กรวิชาชีพครูตาม พ...ครู พ..2488ได้กำหนดมาตรฐานวิชาชีพครู ไว้ 3 ด้าน กล่าวคือ
                1.  มาตรฐาน ด้านความรู้และประสบการณ์วิชาชีพ
                2.  มาตรฐาน ด้านการปฏิบัติงาน
                3.  มาตรฐาน ด้านการปฏิบัติตน               
           
             การนำไปประยุกต์ใช้
1. จัดการเรียนการสอน
2. จัดสาระการเรียนรู้
3. จัดเนื้อหาสาระ และกิจกรรมให้สอดคล้องกับความสนใจ และความถนัดของผู้เรียน
4. ฝึกทักษะ กระบวนการคิด การจัดการ การเผชิญสถานการณ์
5.  จัดกิจกรรม ให้ผู้เรียนได้เรียนรู้จากประสบการณ์จริง
6. จัดการเรียนการสอน โดยผสมผสานสาระความรู้ด้านต่าง ๆ
7. จัดบรรยากาศ สภาพแวดล้อม เพื่ออำนวยความสะดวกเพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้
8. จัดการเรียนรู้ ให้เกิดขึ้นได้ทุกเวลา ทุกสถานที่
9. จัดการประเมินผู้เรียน โดยพิจารณาจากพัฒนาการของผู้เรียน ความประพฤติ สังเกตพฤติกรรมการเรียน การร่วมกิจกรรม และการทดสอบควบคู่ไป
10. จัดทำสาระ ของหลักสูตรในส่วนที่เกี่ยวกับสภาพปัญหาในชุมชน และสังคม ภูมิปัญญาท้องถิ่นรวมทั้งคุณลักษณะอันพึงประสงค์
11. ร่วมกับบุคคล ครอบครัว ชุมชน องค์กรชุมชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เอกชน
องค์กรเอกชน  องค์กรวิชาชีพ  สถาบันศาสนา  สถานประกอบการ และสถาบันสังคมอื่น
12. พัฒนากระบวนการเรียนการสอน ที่มีประสิทธิภาพ และดำเนินการวิจัย เพื่อพัฒนาการ
เรียนรู้ที่เหมาะสมกับผู้เรียน แต่ละระดับการศึกษา
               13.  พัฒนาขีดความสามารถ ในการใช้เทคโนโลยีเพื่อกาศึกษาของผู้เรียน
               14. ปฏิบัติงาน และประพฤติปฏิบัติตนตามมาตรฐานและจรรยาบรรณของวิชาชีพครู  

กิจกรรมที่ 5

ให้นักศึกษาอ่านบทความเรื่องต้นแบบแห่งการเรียนรู้ แล้วสรุปลงในบล็อกของนักศึกษาสิ่งที่ได้คืออะไรและจะนำไปใช้ประโยชน์ในการ พัฒนาตนเองได้อย่างไร
สรุปบทความเรื่องต้นแบบแห่งการเรียนรู้
ในปัจจุบันเราจะเห็นว่า ต้นแบบมีอยู่ในวงการศึกษามากมาย ที่ได้ยินบ่อยมาก คือ ครูต้นแบบต่อ มาก็มี โรงเรียนต้นแบบ ศึกษานิเทศก์ต้นแบบ และ ต่อ ๆ ไปก็จะมี ผู้บริหารต้นแบบ นักเรียนต้นแบบ ผู้ปกครองต้นแบบ ชุมชนต้นแบบ ภารโรงต้นแบบ ฯลฯ   พระเทพโสภณ (ประยูร ธมมจิตโต) อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย พระคุณเจ้าได้สรุปความสำคัญของคำว่า ต้นแบบว่ามี 2 นัย
นัยแรก    คือ  ต้นแบบในฐานะเป็นแม่แบบ เพื่อให้ผู้ดูแบบได้เอาอย่าง ศึกษาตามพฤติกรรมต้นแบบ แล้วทำตามแบบ เลียนแบบ ต่อมาก็อาจ ประยุกต์แบบ
นัยที่สอง  คือ ต้นแบบในฐานะเป็นแรงบันดาลใจให้ เกิดการใฝ่รู้ใฝ่เรียน เป็นกำลังใจแก่ผู้ดูแล กระตุ้นให้ผู้ดูแบบสร้างสรรค์สิ่งดีงาม ต้นแบบตามนัยนี้อาจไม่ต้องมีการถ่ายทอดจากต้นแบบสู่ผู้ดูแบบ    ไม่ต้องสอนกันตรง ๆ เพียงแค่ผู้ดูแบบ....ได้เห็น... ได้รับฟังต่อ ๆ กันมาได้รับรู้ก็เกิดความปลื้มปีติ ศรัทธาเชื่อมั่น เป็นขวัญกำลังใจ แม้ไม่รู้จัก แม้เพียงแค่มอง ผู้ดูแบบก็ได้อานิสงส์มากมาย แค่อยู่ให้เห็นก็เป็นแรงบันดาลใจมหาศาล
และยังกล่าวถึงการศึกษาด้วยว่า  ต้นแบบแห่งการเรียนรู้มีลักษณะสำคัญ 3 ประการ คือ ต้นแบบสอนให้รู้ ต้นแบบทำให้ดู และต้นแบบอยู่ให้เห็น
จากการศึกษาบทความความรู้เรื่องต้นแบบแห่งการเรียนรู้  สิ่งที่ได้  คือ  รู้ถึงของคำว่าต้นแบบ  คุณประโยชน์ของคำว่าต้นแบบ  และผลที่จะก่อให้เกิดผลต่อไปของคำว่าต้นแบบนั้น  คือการพัฒนาความรู้  ความสามารถของผู้ตาม  ที่เป็นไปในลักษณะของลูกโซ่  ถ้าต้นแบบนั้นเป็นต้นแบบที่ดี  ก็จะเป็นลูกโซ่ของสิ่งที่ดีเช่นกัน
ดังนั้นสิ่งที่จะนำไปใช้ประโยชน์ในการพัฒนาตนเองได้  คือ  การที่เราสามารถแยกแยะได้ว่า  ต้นแบบไหนดี  ต้นแบบไหนที่ไม่ดี  สามารถนำต้นแบบที่ดีมาเป็นแบบอย่างในฐานะเป็นแรงบันดาลใจ  เกิดการใฝ่รู้ใฝ่เรียน  และเป็นกำลังใจในการพัฒนาตนเองให้ดี  เพราะเมื่อเราจบไปในฐานะของความเป็นครู  ใช่ ! เราย่อมเป็นต้นแบบหนึ่งที่เด็กนักเรียนของเราที่มองดูเรา  ประพฤติ  ปฏิบัติเหมือนเรา  ถ้าเราเป็นต้นแบบที่ดี  ก็จะสามารถช่วยให้ชาติมีเยาวชนที่เป็นทรัพยากรมนุษย์ที่มีคุณภาพในการพัฒนาและบริหารประเทศต่อไปได้ 

กิจกรรมที่ 4

ให้นักศึกษาอ่านบทความเรื่อง ภาวะผู้นำและการเปลี่ยนแปลง และสรุปสิ่งที่นักศึกษาอ่านได้ลงในบล็อกของนักศึกษา
ภาวะผู้นำ และการเปลี่ยนแปลง
ดร. ประพนธ์ ผาสุขยืด
ผู้อำนวยการ สถาบันส่งเสริมการจัดการความรู้เพื่อสังคม
การเปลี่ยนแปลงเป็นสิ่งที่ไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ เราทุกคนคงยอมรับว่าไม่มียุคสมัยใดที่การเปลี่ยนแปลงจะรวดเร็วและมีผลกระทบรุนแรงเท่าในปัจจุบัน การเปลี่ยนแปลงได้สร้างหายนะให้กับองค์กรหลายแห่งไม่เว้นแม้กระทั้งองค์กรที่เคยประสบความสำเร็จมาในอดีต ในขณะเดียวกัน การเปลี่ยนแปลงก็ได้สร้างโอกาสใหม่ๆ ให้กับหลายองค์กรเช่นกัน
ประเด็นเรื่องการอยู่รอดและการเปลี่ยนแปลงเป็นประเด็นที่เกี่ยวข้องสัมพันธ์กันโดยตรง ดังคำกล่าวของ ชาร์ล ดาร์วิน ที่ว่า "ผู้ที่อยู่รอด มิใช่เป็นสายพันธ์ (Species) ที่แข็งแรงที่สุดหรือฉลาดที่สุด หากแต่ว่าเป็นผู้ที่สามารถตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงได้ดีที่สุดต่างหาก"
การเปลี่ยนแปลงที่ว่านี้ หากจะมองในระดับบุคคลแล้ว คงจะไม่มีการเปลี่ยนแปลงใดจะสำคัญและยิ่งใหญ่ไปกว่าการปรับเปลี่ยนมุมมอง (ทิฏฐิ) และทัศนคติ (Attitude) การรู้จักเปิดใจกว้าง ไม่ยึดติดอยู่กับความคิด หรือความรู้เดิมๆ ถือว่าเป็นการเปลี่ยนแปลงที่ยิ่งใหญ่ เป็นการเริ่มต้นสู่การเปิดรับสิ่งใหม่ด้วยใจที่ไม่อคติ (Bias)
ประเด็นคำถามที่ตามมาก็คือ
ทำอย่างไรเราจึงจะเห็นและเข้าใจทุกสิ่งทุกอย่างตามที่เป็นหรือเกิดขึ้นจริง มิใช่เป็นการเห็นหรือเข้าใจตามที่เราต้องการจะเห็นหรือให้มันเป็น
ทำอย่างไรเราจึงจะสามารถใช้ทั้งความรู้และความรู้สึกควบคู่กันไปอย่างได้สมดุล
ทำอย่างไรเราจึงจะไม่ยึดติดอยู่กับรูปแบบจนอาจลืมสาระและวัตถุประสงค์ที่แท้จริงของสิ่งนั้นๆไป
ทำอย่างไรเราจึงจะเห็นความจำเป็นของระบบ ของมาตรฐานโดยที่ไม่มองข้ามความงดงามอันเนื่องมาจากความหลากหลาย (Diversity)
การสร้างการเปลี่ยนแปลงในเรื่องดังกล่าวคงจะไม่ใช่เรื่องที่ง่าย หากเรายังใช้แต่หลักทางด้านการจัดการ (Management) อยู่ เพราะการจัดการนั้นจริงๆแล้วใช้ได้ผลดีเฉพาะกับสิ่งที่เป็นสิ่งของ (Things) เท่านั้น แต่เรื่องการเปลี่ยนแปลงส่วนใหญ่เป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับคน
ตัวอย่างเช่น เวลาเราพูดถึงการปรับเปลี่ยนโครงสร้างองค์กร ก็เป็นเรื่องของคน การปรับเปลี่ยนระบบก็เกี่ยวกับคน การนำเทคโนโลยีมาใช้ก็เกี่ยวกับคนเช่นกัน ซึ่งเรื่องของคนนั้นหากจะให้ได้ผลแล้วจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องใช้สิ่งที่เรียกว่า ภาวะผู้นำ (Leadership) มากกว่าที่จะใช้การจัดการ
ภาวะผู้นำหรือความสามารถในการนำนี้ถือว่าเป็นองค์ประกอบสำคัญที่ทำให้การเปลี่ยนแปลงสำเร็จ หลายคนบอกว่าการนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงนั้นควรจะต้องเริ่มต้นด้วยวิสัยทัศน์ที่ชัดและจูงใจก่อนเป็นอันดับแรก เพราะนั่นคือการกำหนดทิศทาง เป็นการวางเป้าหมายสำหรับอนาคต 

วันอาทิตย์ที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2553

กิจกรรมที่ 3


ประวัติ

         ผศ.ดร.ทพญ.พิมพ์เพ็ญ เวชชาชีวะ มีชื่อเล่นว่า "แตงโม" (แต่มักเรียกสั้น ๆ ว่า แตง) เกิดเมื่อวันที่ 5 สิงหาคม พ.ศ. 2507 เป็นบุตรสาวของ ศาสตราจารย์ (พิเศษ) พงศ์เพ็ญ ศกุนตาภัย อดีตอาจารย์ประจำภาควิชาการปกครอง คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กับนางประพาพิมพ์ ศกุนตาภัย (สุวรรณศร) อดีตผู้ช่วยผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย
พิมพ์เพ็ญมีศักดิ์เป็นหลานยายของนางอัมพา สุวรรณศร (ณ ป้อมเพชร์) ซึ่งเป็นน้องสาวของท่านผู้หญิงพูนศุข พนมยงค์ ภริยานายปรีดี พนมยงค์ อดีตผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์และนายกรัฐมนตรีคนที่ 7 ของประเทศไทย
สำเร็จการศึกษาระดับประถมศึกษาจากโรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ระดับปริญญาตรี จาก คณะทันตแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ระดับปริญญาโทและปริญญาเอก สาขาวิชาคณิตศาสตร์ จาก คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ในปี พ.ศ. 2531 หลังจาก พิมพ์เพ็ญ สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี เธอได้สมรสกับนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ซึ่งเป็นเพื่อนนักเรียนชั้นประถมศึกษาที่โรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และเธอได้ติดตามนายอภิสิทธิ์ไปยัง เมืองออกซ์ฟอร์ด ประเทศอังกฤษ ในช่วงที่นายอภิสิทธิ์ ศึกษาต่อในระดับปริญญาโท สาขาเศรษฐศาสตร์ โดยใช้ชีวิตอยู่ในประเทศอังกฤษเป็นระยะเวลา 2 ปี หลังจากกลับมาใช้ชีวิตในประเทศไทย ทั้งคู่มีบุตรด้วยกัน 2 คน คือ ปราง เวชชาชีวะ (บุตรสาว) กับ ปัณณสิทธิ์ เวชชาชีวะ (บุตรชาย)
พิมพ์เพ็ญ ได้ประกอบอาชีพทันตแพทย์ในช่วงระยะเวลาหนึ่ง หลังจากนั้นในปี 2539 เธอได้เข้าศึกษาต่อระดับปริญญาโท สาขาคณิตศาสตร์ ณ ภาควิชาคณิตศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งเป็นวิชาที่เธอรักมาตั้งแต่เยาว์วัย เธอสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโทนี้ด้วยผลการเรียนเฉลี่ย 4.00 ซึ่งทำให้เธอได้รับรางวัลมูลนิธิศาสตราจารย์ ดร.แถบ นีละนิธิ เนื่องจากเป็นผู้สอบได้คะแนนยอดเยี่ยมในหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาคณิตศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ประจำปี 2541 และได้รับการบรรจุให้รับราชการ ตำแหน่งอาจารย์ สังกัดภาควิชาคณิตศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยในปีเดียวกัน และสำเร็จการศึกษา ระดับปริญญาเอก สาขาคณิตศาสตร์ เมื่อปี 2546
ปัจจุบัน ผศ.ดร.ทพญ.พิมพ์เพ็ญ เวชชาชีวะ ดำรงตำแหน่ง ผู้ช่วยศาสตราจารย์ สาขาคณิตศาสตร์ ประจำภาควิชาคณิตศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

กิจกรรมที่ 2

หลักการ/เจ้าของทฤษฏี
             โบรฟี (สุภวรรรณ:2551) ได้กล่าวถึงการจัดการชั้นเรียนไว้ว่า  หมายถึงการที่ครูสร้างและคงสภาพสิ่งแวดล้อมในการเรียนรู้และที่นำไปสู่การจัดการเรียนการสอนที่ประสบผลสำเร็จในด้านสิ่งแวดล้อมทางกายภาพการสร้างกฏระเบียและการดำเนินการที่ทำให้บทเรียนมีความน่าสนใจอย่างต่อเนื่อง
            เบอร์เดน (ศุภวรรณ : 2551 )  ให้คำจำกัดความของการจัดการชั้นเรียนไว้ว่าเป็นยุทศาสตร์และการปฏิบัติที่ครูใช้เพื่อคงสภาพความเป็นระเบียบเรียบร้อย
     ซูซาน (ศุภวรรณ : 2551 )  ได้ให้ความหมายของการจัดการชั้นเรียนไว้ว่าเป็นพฤติกรรมการสอนที่ครูสร้างและคงสภาพเงื่อนไขของการเรียนรู้เพื่อช่วยให้การเรียนการสอนมีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผลขึนในชั้นเรียนซึ่ง๔อเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้การจัดการชั้นเรียนที่มีคุณภาพนั้นต้องเป็นกระบวนการที่ดำเนินไปอย่างต่อเนื่องและคงสภาพเช่นนี้ต่อไป

การนำหลักการไปใช้
นำไปบริหารจัดชั้นเรียนเวลาสอนนักเรียนจริงในอณาคตเช่นหลักการจัดบรรยากาศที่เหมาะกับการเรียนการสอน
สรุปไดว่า เนื่องจากชั้นเรียนมีความสำคัญ เปรียบเสมือนบ้านที่สองของนักเรียน และอาจารย์ก็คือพ่อแม่ของเราคนที่สองของเรา  ก็อิทธิพลของชั้นเรียนจึงมีมากพอที่จะปลูกผังลักษณะของเด็กให้เป็นแบบที่ต้องการได้ เช่น ให้เป็นตัวของตัวเอง ให้สามารถทำงานเป็นหมู่คณะได้ดี ให้ชอบแสวงหาความรู้อยู่เสมอ ให้มีความรับผิดชอบ ให้รู้จักคิดวิเคราะห์ของตนได้   ดังนั้นเพื่อให้นักเรียนมีคุณลักษณะนิสัยดังประสงค์ และมีความรู้สึกอบอุ่นสบายใจในการอยู่ในชั้นเรียนครูจึงควรคำนึงถึงหลักการจัดชั้นเรียน ดังต่อไปนี้
1. การจัดชั้นเรียนควรให้ยืดหยุ่นได้ตามความเหมาะสม คือชั้นเรียนควรเป็นห้องใหญ่หรือกว้างเพื่อสะดวกในการโยกย้ายโต๊ะเก้าอี้ จัดเป็นรูปต่างๆ เพื่อประโยชน์ในการเรียนการสอน ถ้าเป็นห้องเล็ก ๆ หลาย ๆ ห้องติดกัน ควรทำฝาเลื่อน เพื่อเหมาะแก่การทำให้ห้องกว้างขึ้น
2. ควรจัดชั้นเรียนเพื่อสร้างเสริมความรู้ทุกด้าน โดยจัดอุปกรณ์ในการทำกิจกรรมหรือหนังสืออ่านประกอบที่หน้าสนใจไว้ตามมุมห้อง เพื่อนักเรียนจะได้ค้นคว้าทำกิจกรรมควรติดอุปกรณ์รูปภาพและผลงานไว้ เพื่อให้เกิดการเรียนรู้
3. ควรจัดชั้นเรียนให้มีสภาพแวดล้อมที่ดี ได้แก่ สภาพแวดล้อมทางกาย สติปัญญา อารมณ์ และสังคม ซึ่งมีอิทธิผลต่อความเป็นอยู่และการเรียนของนักเรียนเป็นอันมาก ครูมีส่วนช่วยเสริมสร้างสภาพแวดล้อมให้ดีได้ เช่น ให้นักเรียนจัดหรือติดอุปกรณ์ให้มีสีสวยงาม จัดกระถางต้นไม้ประดับชั้นเรียน จัดที่ว่างของชั้นเรียนให้นักเรียนทำกิจกรรม คอยให้คำแนะนำในการอ่านหนังสือ ค้นคว้าแก้ปัญหา และครูควรสร้างบรรยากาศในชั้นเรียน ไม่ให้เครียด เป็นกันเองกับนักเรียนได้
4. ควรจัดชั้นเรียนเพื่อเสริมสร้างลักษณะนิสัยที่ดีงาม ชั้นเรียนจะน่าอยู่ก็ตรงที่นักเรียนรู้จักรักษาความสะอาด ตั้งแต่พื้นชั้นเรียน โต๊ะม้านั่ง ขอบประตูหน้าต่าง ขอบกระดานชอล์ก แปลงลบกระดาน ฝาผนังเพดาน ซอกมุมของห้อง ถังขยะต้องล้างทุกวัน เพื่อไม่ให้มีกลิ่นเหม็น และบริเวณที่ตั้งถังขยะจะต้องดูแลเป็นพิเศษ เพราะเป็นแหล่งบ่อเกิดเชื้อโรค 
 5. ควรจัดชั้นเรียนเพื่อสร้างความเป็นระเบียบ ทุกอย่างจัดให้เป็นระเบียบทั่งอุปกรณ์ของใช้ต่างๆ เช่นการจัดโต๊ะ ชั้นวางของและหนังสือ แม้แต่การใช้สิ่งของก็ให้นักเรียนได้รู้จักหยิบใช้ เก็บในที่เดิม จะให้นักเรียนเคยชินกับความเป็นระเบียบ

วันอาทิตย์ที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

ประวัติส่วนตัว

ชื่อนายศุภชัย  ต่วนมิหนา ( ฟัส )
จบจากโรงเรียนมุสลิมสันติธรรมมูลนิธิ จ นครศรีธรรมราช
ปรัชญา ฝันให้ไกลและต้องไปให้ถึง
ทีมฟุตบอลที่ชอบ อาเซนอล

วันอาทิตย์ที่ 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

บทความการศึกษา

“เศรษฐกิจพอเพียง” สมดุล แห่งชีวิต
ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เป็น ปรัชญาที่พระราชทานให้คนไทยใช้เป็นหลักคิดและหลัก ปฏิบัติในการดำเนินชีวิต เพื่อให้เกิดสมดุลในชีวิต ในครอบครัว ในโรงเรียน ในประเทศ โดยตั้งสมมุติ-ฐาน ที่ว่าทุกสิ่งอนิจจัง ทุกสิ่งเปลี่ยนแปลง ทั้งปัจจัยที่เปลี่ยนแปลงมาจากนอกประเทศ กับในประเทศ นอกโรงเรียนกับในโรงเรียน นอกครอบครัวกับในครอบครัว
    แล้วทรงชี้ว่าเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงจะมีผลกระทบ 4 ด้านด้วยกัน คือ ด้านวัตถุ สังคม สิ่งแวดล้อม และทางวัฒนธรรม ผลกระทบทางวัตถุ อาจจะหมายถึงทางเศรษฐกิจทางการเงินก็ได้ ส่วนผลกระทบ ทางสังคม ให้นึกถึงความเข้มแข็งของโรงเรียนของท่าน ที่ไม่มีเด็กติดยาเสพติด เลย หมายถึงโรงเรียนที่มีคุณภาพ สังคมของโรงเรียนเข้มแข็ง หรือพูดถึงครอบ ครัวครูที่ไม่มีหนี้เลย ก็หมายถึงว่าสังคมครอบครัวเข้มแข็ง ส่วนผลกระทบทางสิ่ง แวดล้อมที่ชัดเจนคือเรื่องความสะอาด ความมีวินัย เช่น การรักษาต้นไม้ การปลูก ต้นไม้ให้เด็กได้ร่มในโรงเรียน ห้องส้วมสะอาด ขณะที่ผลกระทบทางวัฒนธรรม คือ วัฒนธรรมจากนอกประเทศที่จะเข้ามาทำลายวัฒนธรรมไทย จึงต้องรักษา วัฒนธรรมของเราให้เข้มแข็ง

“คุณธรรม” รากเศรษฐกิจพอเพียง
    ภูมิคุ้มกันในตัวเราที่ดีก็คือ  empowerment  คือ ทำให้เข้มแข็ง เข้มแข็งทางการเงิน ก็คือว่า ครอบครัวต้องมีเงินออม ไม่ใช่มีหนี้ ถ้ามีหนี้ก็คือ เป็นเรื่องของ ความอ่อนแอ แต่ถ้ามีเงินออมมากก็เป็นเรื่องของความเข้มแข็ง โดยมีเงื่อนไข สำคัญคือเรื่องคุณธรรม เพราะการที่คนขี้โกง เอาเงินไปใช้แล้วก็ประสบความสุข ความร่ำรวย ซึ่งผิดกับหลักการดังกล่าว เพราะผิดเงื่อนไข คือ เรื่องคุณธรรม โรงเรียนไหนจะเอาปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงไปใช้ จะต้องไปสร้างคุณธรรมใน โรงเรียนก่อน ตั้งแต่ผู้อำนวยการลงไปถึงภารโรง เด็กทุกคน ครูทุกคน ต้องมี คุณธรรม
โรงเรียนต้องพร้อมทำงาน หนัก
    พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระราชดำรัสว่า เศรษฐกิจพอเพียงเป็นปรัชญาชี้ถึงแนวการดำรงอยู่และ ปฏิบัติตน ของประชาชนในทุกระดับ ตั้งแต่ระดับครอบครัว ระดับชุมชนถึงระดับรัฐ ทั้งในการพัฒนาและบริหารประเทศให้ดำเนินไปในทางสายกลาง โดยเฉพาะการ พัฒนาเศรษฐกิจเพื่อให้ก้าวทันต่อโลกยุคโลกาภิวัตน์ แต่พระองค์ไม่ได้ทรงต้อง การให้เราจนอยู่อย่างนั้นตลอดไป ไม่ใช่ให้เราปิดประเทศ แต่มีคนเข้าใจผิดเยอะ มาก เพราะความจริงแล้วเป็นแนวทางปฏิบัติตนสำหรับประชาชนทุกระดับ โดยยึด ทางสายกลางให้ก้าวทันต่อโลกยุคโลกาภิวัตน์ ไม่ได้บอกว่าให้เราเอาปรัชญานี้ไป ใช้แล้วก็ หงอย จ๋อย อยู่นั่น ตรงกันข้ามต้องกระตือรือร้น ต้องทำงานหนัก ถ้าจะ เอาปรัชญานี้ไปใช้ ต้องถามตัวเองก่อนว่า โรงเรียนของท่านพร้อมจะทำงานหนัก หรือไม่
3 องค์ประกอบ บันไดสู่เป้าหมาย
องค์ประกอบของความ พอเพียงมี  3  องค์ประกอบ คือ
    1.  ความพอประมาณไม่สุดโต่ง จะลง ทุน จะซื้อของ ต้องพอประมาณ
    2.  ต้องมีเหตุผลอธิบายได้
    3.  ต้องสร้างระบบภูมิคุ้มกันที่ดีต่อการมีผลกระทบใดๆ อันเกิดจากการเปลี่ยน แปลงทั้งภายนอกภายใน

    เรามีเงินงบประมาณอยู่ก้อนหนึ่ง เรา ต้องการจะทำห้องแล็บ คอมพิวเตอร์ จะลงทุนเท่าไหร่ดี คำถามแรกคือ มีเหตุผล ไหมที่จะต้องทำคอมพิวเตอร์ใหม่ ถ้ามีก็โอเค แล้วเราจะใช้งบประมาณสักเท่าไหร่ ถึงจะพอประมาณ และจะเหลืออีกเท่าไหร่ ส่วนความพอประมาณ ก็คือความพอดี พอเหมาะต่อความจำเป็น พอควรแก่อัตภาพ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เคยมี พระราชดำรัสว่า “พอเพียงของฉันคือพอควรแก่อัตภาพ ถ้าเขาเป็นเศรษฐีแสน ล้าน เขาจะซื้อกระเป๋าถือ 30,000 บาท เรื่องของเขา แต่เรามีเงิน 12,000 บาท แล้วเราจะไปซื้อกระเป๋า 3,000 บาท อันนี้ไม่พอควรแก่อัตภาพ แล้ว”


สร้างภูมิคุ้มกันให้โรงเรียน
    ระบบภูมิคุ้มกันทางด้านวัตถุ ด้านธุรกิจ ฐานะการเงิน ภูมิคุ้มกันด้านสังคมครอบครัวเข้มแข็ง โรงเรียนเข้มแข็ง ชุมชนเข้มแข็ง หมายความว่าภูมิคุ้มกันเราดี ใครจะเอายาเสพติดมาขาย หน้า โรงเรียน นักเรียนเราก็ไม่รับ เพราะว่าเราสร้างภูมิคุ้มกันสังคมตรงนี้ไว้ดีมาก เรา สร้างสำนึกไว้ดีมากให้แก่นักเรียนทุกคนตลอดเวลา
    อันนี้คือภูมิคุ้มกัน ต่ออบายมุขทั้งหลาย ภูมิคุ้มกันต่อเหตุร้ายทั้งหลาย ไม่ตกเป็นเหยื่อของอบายมุข มีความรักสามัคคีกันในโรงเรียน เกื้อกูลกัน ภูมิคุ้มกันด้านสิ่งแวดล้อมก็เหมือนกัน คือ มีความรู้วิชาการด้านสิ่งแวดล้อม โรงเรียนสตรีภูเก็ต เป็นตัวอย่างของการนำ เอาพฤกษศาสตร์เข้าไปในการพัฒนาการเรียนรู้ของนักเรียน ซึ่งเป็นการสร้างภูมิ คุ้มกัน หรือความเข้มแข็งทางด้านสิ่งแวดล้อม แล้วนำมาถ่ายทอดทางด้านวิชาการ ได้

ผอ.โรงเรียนต้องดูแลตั้งแต่ห้องน้ำ
    เรื่องสิ่งแวดล้อมโรงเรียน อยาก ฝากไว้ 2 เรื่อง คือ
    1. เรื่องความปลอดภัยในสิ่งแวดล้อม โรงเรียน ในอดีตเคยมีข่าวเรื่องกำแพงพังทับนักเรียนตาย บาง โรงเรียนเลี้ยงจระเข้ไว้แล้วผู้ปกครองไปฟ้องศาลก็มีมาแล้ว เราต้องนึกถึงเรื่อง ความปลอดภัยในโรงเรียนก่อน
    2. เรื่องความสะอาด และการพัฒนาสิ่งแวดล้อม คนเป็น ผอ.โรงเรียน มีหน้าที่ต้องเดิน ดูโรงเรียนอย่างน้อยวันละ 2 รอบ ดูห้องน้ำ ดูรั้วโรงเรียนตรงไหนมันหัก มันพัง มัน ผุ ต้นไม้ต้นไหนจะหักมาทับนักเรียนหรือไม่ รวมถึงความปลอดภัยในส่วนของบ่อ น้ำ สระน้ำ เพราะเด็กไทยจมน้ำตายเป็นหนึ่งใน 3 ของสาเหตุการเสียชีวิตของเด็ก ไทยในทุกปี ขณะที่ภูมิคุ้มกันทางวัฒนธรรม ทุกโรงเรียนมีหน้าที่สำคัญต่อประเทศ ชาติอย่างมาก จะต้องทำให้เด็กทุกรุ่นศรัทธาและมั่นคงในวัฒนธรรมไทย ในขณะ เดียวกันต้องเข้าใจและเป็นมิตรต่อวัฒนธรรมอื่น เพื่อความเป็นไทย และความเป็น คนไทยจะได้ยั่งยืน

3  เงื่อนไขหัวใจหลัก
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรง มีพระราชดำรัสถึง แนวทางการนำหลักเศรษฐกิจพอเพียงให้ได้ผลดี ว่ามี  3  เงื่อนไข  คือ
    1.  หลักวิชา โดย พระองค์ท่านจะทำอะไร ทรงอาศัยหลักวิชาเสมอ ไม่ได้ทำตามอารมณ์ ไม่ได้ทำ ตามกระแส ไม่ได้ตัดสินใจตามผลประโยชน์ของใคร แต่ใช้หลักวิชาเพื่อให้เกิด ประโยชน์สูงสุดแก่ทุกคน การทำอะไรจะต้องทำวิจัยให้แน่ก่อน ก่อนที่จะเผยแพร่ ให้ราชการนำไปเผยแพร่ต่อ แต่ของประเทศเราไม่ จะทำอะไรทุกจังหวัดทำเหมือน กัน 40,000 โรงเรียนทำเหมือนกันซึ่งไม่ใช่
    2.  เงื่อนไข คุณธรรม ต้องเสริมสร้างพื้นฐานจิตใจของคนในชาติ โดยเฉพาะ เจ้าหน้าที่ของรัฐ และนักธุรกิจในทุกระดับ ให้มีสำนึกในคุณธรรม ความซื่อสัตย์ สุจริต 3. เงื่อนไขในการดำเนินชีวิต ต้องรอบรู้ ดำเนินชีวิตด้วยความอดทน เรื่อง ความเพียร

“ยูเอ็น” แจกเศรษฐกิจพอ เพียง 135 ประเทศ
ส่วนผลที่คาดว่าจะได้รับ จากแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง คือ 1. ให้เกิดความสมดุล รองรับการเปลี่ยน แปลงอย่างรวดเร็ว และกว้างขวางทั้งด้านวัตถุ สังคมและสิ่งแวดล้อม วัฒนธรรม จากโลกภายนอกได้เป็นอย่างดี นายโคฟี่ อันนัน เลขาธิการองค์การสหประชา ชาติ (ยูเอ็น) เห็นประโยชน์แนวทางเศรษฐกิจพอเพียงอย่างมหาศาล ซึ่งองค์การ สหประชาชาติจะนำไปเผยแพร่ทั่วโลก ผ่านองค์กร ยูเอ็นดีพี เอเชียแปซิฟิก สำหรับปี 2550 จะมีการนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาอธิบายให้ต่างประเทศให้ เข้าใจให้ได้ พร้อมทั้งมีการพิมพ์เป็นภาษาอังกฤษ ภาษาไทยเผยแพร่ในประเทศ ไทย ให้พวกเราที่ยังไม่เข้าใจได้เข้าใจ ส่วนภาษาอังกฤษ จะนำไปเผยแพร่ใน 135 ประเทศ เพื่อใช้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ไปลดผลกระทบอย่างรุนแรง ของกระแสโลกาภิวัตน์ ที่ทำลายอะไรต่ออะไรทั่วโลกอยู่ในขณะนี้

สร้างเด็กเน้นดี-เก่ง
สำหรับผลข้อ 2. การระเบิดจาก ข้างใน คือ เวลาจะไปพัฒนาท้องถิ่นไหน ต้องทำให้ประชาชนที่นั่นเก่ง ไม่ใช่เอา ความเจริญจากข้างนอกไปพอก ในโรงเรียนก็เช่นกัน สิ่งที่เราจะทำให้เปิดจากภาย ใน คือ ทำให้นักเรียนทุกคนเป็นเทวดาให้ได้ คือทำให้เป็นคนดี คนเก่ง การจะไป พัฒนาโรงเรียน แต่เด็กจน ไม่มีอาหารกลางวันกิน เด็กจะเรียนได้อย่างไร ถามว่า เด็กที่หิวมากๆ จะเรียนรู้ เรื่องหรือ เพราะฉะนั้นถ้าจะพัฒนาโรงเรียนต้องถามก่อน ว่าเด็กสุขภาพเป็นอย่างไร การกิน การอยู่ พอไหม มีความทุกข์หรือเปล่า การจะ พัฒนาอะไรต้องเริ่มต้นจากสิ่งจำเป็นที่สุดของประชาชนเข้ามาก่อน ได้แก่ สุขภาพ สาธารณสุข จากนั้นจึงเป็นสาธารณูปโภคพื้นฐาน สิ่งจำเป็นในการประกอบ อาชีพตามมา
รู้-รัก-สามัคคี
    วิธีทรงงานของพระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัว คือ ทำให้ง่าย อย่าทำให้ซับซ้อน มี นักบริหารบางคนทำเรื่องเล็กให้เป็นเรื่องใหญ่ แต่มีนักบริหารหลายคน ทำเรื่องใหญ่ให้เป็นเรื่องเล็ก คนบางคน มองทุกปัญหามีทางออก แต่ก็มีบางคน มองทุกทางออกมีปัญหา ไม่ติดตำรา ใช้อธรรม ปราบอธรรม ปลูกป่าในใจคนก่อน และต้องมุ่งประโยชน์ของคนส่วนใหญ่เป็นหลัก
    การมีส่วนร่วม ขาดทุนคือกำไร การบริหารรวมที่จุดเดียว ทรงมีพระราช ดำริให้บริหารเป็นการบริการด้วยและบริหารที่จุดเดียว บริการที่จุดเดียว บริหาร แบบเบ็ดเสร็จ ทั้ง 2 ระดับทั้งระดับบริหาร และระดับบริการ
    สุดท้ายคือ รู้ รักสามัคคี ส่วนมากเราจะพิมพ์ติดกัน 3 ตัว แต่ความจริงความหมายมันแยกกัน คือ
    รู้-  การที่เราจะลงมือทำสิ่งใดนั้น เรา ต้องรู้เสียก่อน รู้ถึงปัญหา และรู้ถึงวิธีแก้ปัญหา
    รัก- เมื่อเรารู้ครบถ้วนกระบวนความแล้ว จะต้องมีความรัก